SM Club IT: 07/22/13

Y

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows ได้ง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอน

ทำแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows ได้ง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอน

ปัจจุบันนี้มีโน้ตบุ๊กหลายๆ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งไดรฟ์ DVD-RW มาให้และไม่มีระบบปฏิบัติการติดตั้งมาให้ในเครื่องอีกด้วย เวลาจะลง Windows ก็ต้องหาไดรฟ์ DVD-RW ภายนอกมาต่อเสริมอีกหนึ่งตัว แต่วิธีการนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากไม่สะดวกเท่าไหร่ คราวนี้ทางทีมงานจึงเตรียมวิธีการเตรียมแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows มาให้ทุกท่านด้วย
สำหรับสิ่งที่ทุกท่านต้องเตรียมมานั้น คือแฟลชไดรฟ์ ที่ใช้มาตรฐานเชื่อมต่อ USB 2.0 จำนวน 1 ตัว สังเกตได้จากขั้วเชื่อมต่อจะเป็นสีดำ แต่ถ้าเป็นแบบ USB 3.0 จะเป็นสีน้ำเงินและควรมีความจุ 8 GB จะดีที่สุด โดยทางทีมงานไม่แนะนำให้ใช้ USB 3.0 เพราะการติดตั้ง Windows ผ่านแฟลชไดรฟ์นั้นยังไม่รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ USB 3.0 
สิ่งที่สองที่ทุกท่านต้องมีคือไฟล์ระบบปฏิบัติการที่เป็น .iso (หรือเป็นอิมเมจไฟล์นามสกุลอื่นก็ได้) เตรียมเอาไว้อีกหนึ่งไฟล์ด้วยกัน รวมทั้งดาวน์โหลดโปรแกรม Windows 7 USB/DVD Tool ไปติดตั้งเพิ่มเอาไว้ โดยโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่จะใช้เขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการเข้าไปในแฟลชไดรฟ์นั่นเอง


1
เริ่มต้นเมื่อเราลงโปรแกรม Windows 7 USB/DVD Download Tool แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมา ตัวโปรแกรมจะให้เราเลือกไฟล์ .iso เพื่อเป็นไฟล์ที่จะเขียนลงไปยังแฟลชไดรฟ์ ให้เรากดที่ปุ่ม Browse แล้วเลือกไฟล์ Windows ที่เราต้องการเขียนลง USB ขึ้นมา แล้วกด Next


2
โปรแกรมจะถามว่าเราต้องการเขียนไฟล์ Windows ไปยังแผ่น DVD หรือจะ USB Drive ให้เราเลือก USB Device ที่เป็นตัวเลือกทางซ้ายแล้วโปรแกรมจะทำงานต่อโดยอัตโนมัติ
3
ขั้นตอนสุดท้ายนั้นเครื่องจะสแกนหาแฟลชไดรฟ์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเอาไว้กับเครื่องของเรา แนะนำให้เราเอาแฟลชไดรฟ์ที่ต้องการเขียนข้อมูล Windows เสียบเอาไว้เพียงอันเดียวแล้วโปรแกรมจะค้นหาโดยอัตโนมัติ ถ้ายังไม่เจอให้เรากดที่ปุ่ม Refresh ที่อยู่ข้างๆ ตัวเลือกไดรฟ์ USB เพื่อค้นหาอีกครั้ง เมื่อเราเลือกไดรฟ์ที่ต้องการได้แล้ว ให้เรากดที่ปุ่ม Begin copying ทางขวามือก็เป็นอันเรียบร้อย จากนั้นให้เรารอโปรแกรมเขียนไฟล์ Windows ให้เสร็จ แล้วจะมีหน้าต่างแจ้งเตือนจากโปรแกรมขึ้นมาให้เราทราบ จากนั้นให้ตัดการเชื่อมต่อแฟลชไดรฟ์แล้วนำไปใช้ได้เลย
จะเห็นว่าวิธีการเตรียมแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows นั้นทำได้ง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น เพียงแค่มี image file และโปรแกรมติดตั้งเอาไว้ในเครื่องแค่นี้ก็พร้อมที่จะเขียนไฟล์ Windows ไว้ใช้งานได้แล้ว

ดาวน์โหลดโปรแกรม Windows 7 USB/DVD Download Tool ได้ที่นี่

อ้างอิง notebookspec.com

การดูชื่อรุ่นซีพียูของ Intel Core i Gen 4 [Haswell]

การดูชื่อรุ่นซีพียูของ Intel Core i Gen 4 [Haswell]


ต้องถือว่าเป็นบทความเสริมต้อนรับการมาของซีพียู Intel Core processor 4th Generation สำหรับเครื่องเดสก์ทอปพีซีและโน้ตบุ๊กอย่างเต็มตัว โดยก่อนหน้านี้เราได้เคยพูดกันถึงเทคโนโลยีของตัวซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้โค้ตเนม Haswell กันไปบ้างแล้ว แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้น ยังมีไลน์ซีพียูมาไม่มาก รวมถึงยังไม่ได้วางตลาดอย่างเต็มตัวในกลุ่มของเดสก์ทอปพีซี ครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอ เรื่องราวการดูและทำความเข้าใจในข้อมูลจำเพาะ รวมถึงการดูชื่อรุ่นและคุณลักษณะต่างๆ ของซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ 
สิ่งที่เป็นข้อสังเกตได้อย่างชัดเจนสำหรับซีพียู Intel รุ่นใหม่นี้คือ การปรับรหัสนำหน้ามาเป็น Core ix – 4xxx เช่นเดียวกับทุกครั้งที่เปลี่ยนเจเนอเรชัน ไม่ว่าจะเป็น 2xxx หรือ 3xxx ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากเดินไปหน้าร้าน แล้วเห็นรหัสด้านหลังรุ่นเป็น 4xxx ก็ให้มั่นใจได้เลยว่าเป็นซีพียู Core i Processor รุ่นใหม่ที่เป็น Haswell อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊ก
ตัวอย่างรหัสของซีพียู
Intel Core i7 – 4770 K แยกได้ดังนี้ Core i7 = ซีรีส์ของซีพียู, 4770 = เป็นชื่อรุ่น, K = คุณลักษณะเฉพาะตัว
นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ เมื่อเลือกใช้ซีพียู Intel รุ่นใหม่นี้ ซึ่งเป็นส่วนที่บอกบุคลิกลักษณะของซีพียูในแต่ละรุ่นอย่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง สิ่งนั้นคือ รหัสต่อท้ายชื่อรุ่น นั่นเอง โดยมีทั้งในส่วนของซีพียูเดสก์ทอปและซีพียูโน้ตบุ๊ก แต่จะบ่งบอกถึงอะไรบ้างนั้นต้องตามมาดูกัน

Desktop Processor 
สำหรับซีพียูที่ใช้กับเดสก์ทอปพีซี จะมีการระบุคุณลักษณะของซีพียูอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
K = Unlocked Processor เป็นซีพียูที่ถูกปลดล็อคตัวคูณให้ทำงานได้อิสระ ซึ่งจะตอบโจทย์การโอเวอร์คล็อกปรับความเร็วให้กับซีพียู
S = เป็นซีพียูที่เน้นความคุ้มค่าต่อหน่วยพลังงานที่ใช้ ซึ่งจะสังเกตว่ามีค่า TDP ที่ต่ำกว่าซีพียูรุ่นเดียวกันเล็กน้อย
T = Low Power เป็นซีพียูที่ใช้พลังงานต่ำ โดยมีสัญญาณนาฬิกาและการใช้ค่า TDP ที่ต่ำกว่าปกติ สำหรับพีซีประยัดพลังงาน
Mobile Processor 
แต่สำหรับโมบายซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กนั้น ก็มีการระบุคุณลักษณะของซีพียูในแต่ละรุ่นด้วยเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรเดียวกับซีพียูเดสก์ทอป แต่ใช้เป็นรหัส 2 ตัวต่อท้ายรุ่นของซีพียูแทน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
MQ = เป็นซีพียูรุ่นปกติสำหรับรองรับการใช้งานโดยทั่วไป ทำงานในแบบ 4-Cores/ 8-Threads
HQ = เป็นซีพียูในรุ่นเดียวกับ MQ เพียงแต่เพิ่มเทคโนโลยี Intel® Virtualization Technology for Directed I/O (VT-d) เข้ามา
U = เป็นซีพียูในรุ่นประหยัดพลังงานสูงสุด กินไฟต่ำ ความร้อนน้อย ซึ่งมีค่า TDP ต่ำสุดในบรรดาซีพียูรุ่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดการดูซีพียู Intel Core i Processor ในรุ่นล่าสุดอย่าง 4th Generation นี้ ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้พิจารณาเลือกซีพียูให้เหมาะกับความต้องการและการใช้งาน

อ้างอิง : notebookspec.com

[Tip] 5 ขั้นตอน เร่งความเร็วอินเตอร์เน็ตให้เร็วกว่าเดิม

5 ขั้นตอน เร่งความเร็วอินเตอร์เน็ตให้เร็วกว่าเดิม

การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่หลายคนใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าบางครั้งก็เกิดปัญหาในเรื่องความเร็วบ้าง การเชื่อมต่อบ้าง สิ่งเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างไรก็ดีหากเป็นเรื่องของความเร็วในการใช้งานแล้ว การปรับแต่งบางส่วนในเครื่องของเราเอง ก็มีส่วนช่วยให้ระบบโดยรวมทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเชื่อมต่ออีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่กี่ขั้นตอน

1.Speed up สุดจี๊ดตอนเล่นอินเทอร์เน็ต
ในขั้นตอนนี้เป็นวิธีที่ช่วยให้เครื่องไม่จำกัดแบนด์วิทธิ์ช่องทางข้อมูล ซึ่งเป็นการแก้ไขตัวเลขพื้นฐาน ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบในการทำงานแต่อย่างใด วิธีการง่ายๆ ก็คือ ให้เข้าสู่ระบบด้วยล็อกอิน Administrator เสียก่อน
-เริ่มต้นให้เรียกเมนู Run ขึ้นมา จากนั้นให้พิมพ์คำว่า gpedit.msc จะปรากฏหน้าต่าง Local group policy editor ขึ้นมา
-จากนั้นให้กดที่เครื่องหมาย + หน้าหัวข้อ Administrative Template > Network > QoS Packet Scheduler
-ดูที่หน้าต่างทางขวามือ ให้ดับเบิลคลิกที่ Limit reservable bandwith
-เมื่อหน้าต่าง Limit reservable bandwith แสดงขึ้นมา ให้คลิกหน้าหัวข้อ Enable จากนั้นลงไปที่หัวข้อ Options ด้านล่าง ให้ปรับค่า Bandwidth limit (%) ให้เป็น 0 จากนั้นคลิก OK
2.ปรับค่า bps หรือ Bits per second ให้สุดๆ
วิธีการนี้เป็นการปรับค่าให้มีการ Receive buffer ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้เข้าไปที่ My Computer แล้วคลิกขวามเลือกที่ Properties จากนั้นคลิกที่แท็บ Hardware
-ให้คลิกที่ + ด้านหน้า Ports (COM & LPT) จากนั้นดับเบิลคลิกพอร์ตที่ใช้ในการต่อโมเด็ม โดยปกติจะเป็น Com2
-เมื่อปรากฏหน้าต่าง Communications Port Properties ขึ้นมา ให้คลิอกที่ Port Settings
-จากนั้นให้ตั้งค่า Bits per second จากเดิมที่เป็น 9600 ให้ไปอยู่ที่ 57600 หรือมากกว่านั้น แต่ทางที่ดีไม่ควรให้สูงเกินไป
-เสร็จแล้วเลือกที่ Flow Control ให้เป็น Hardware จากนั้นคลิกที่ Advance แล้วตั้งค่า Receive Buffer ให้สูงที่สุด
3.ปรับแก้ Registry สำหรับโหลดหน้าเว็บ
เป็นอีกวิธีง่ายๆ สำหรับการช่วยให้การค้นหาและการโหลดเว็บให้เร็วยิ่งขึ้น
-เริ่มด้วยการเรียกเมนู Run ขึ้นมา จากนั้นพิมพ์คำว่า regedit แล้วกด OK
-จากนั้นให้เลือกไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE > SYSTEM > CurrentControlSet > Services > Tcpip > ServiceProvider
-ให้ดูที่หน้าต่างด้านขวามือ แล้วให้เปลี่ยนค่าบนตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ ให้กลายเป็น 1 ทั้งหมด ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Class: 1
DnsPriority : 1 
HostsPriority : 1
LocalPriority : 1  
NetbtPriority : 1
4.กำหนดค่า MTU กำหนดค่าการรับ-ส่งข้อมูล
เป็นการตั้งค่าให้เครือข่ายมีการค้นหาค่า Maximum Transmission Unit ให้อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย
-ให้เรียกเมนู Run ขึ้นมา จากนั้นพิมพ์ regedit แล้วกด OK
-จากนั้นให้ไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE > SYSTEM > CurrentControlSet > Services > Tcpip > Parameters > interfaces
-ให้คลิกที่หน้า Interface ให้คลิกขวาที่หน้าโฟลเดอร์แรก แล้วเลือก new > DWORD Value > ตั้งชื่อเป็น MTU
-เสร็จแล้วดับเบิลคลิก แล้วใส่ค่าเป็น 0 ในหัวข้อต่อไปนี้ หากใช้เป็น dial-up Connection ให้ใส่ค่า 576   หากใช้เป็น PPP Broadband Connecting ให้ใส่ค่า 1492   หากใช้เป็น Ethernet, DSL, Cable Broadband Connection ให้ใส่ค่า 1500
5.ลบไฟล์ใน Cache ให้หมดจด
เป็นการลบข้อมูลขยะ รวมถึงบรรดา Cache file ต่างๆ ออกไปจากระบบ ซึ่งก็จะช่วยให้ระบบเคลื่อนไหวได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงเว็บบราวซ์เซอร์ที่ใช้ในการทำงานด้วยเช่นกัน สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Disk Cleanup หรือการลบจาก Web Browser > Internet Option > Delete > Delete Browsing History
อ้างอิง notebookspec.com

ช่วยกดไลค์ติดตามข่าวสารด้วยนะครับ ^^