SM Club IT: 07/29/13

Y

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Windows 8 : ล็อกออนแบบไม่ต้องใส่พาสเวิร์ด

Windows 8 : ล็อกออนแบบไม่ต้องใส่พาสเวิร์ด

สำหรับคุณๆ ที่ทดลองใช้ Windows 8 มาแล้วจะรู้สึกได้ว่าตั้งแต่บูตเครื่องมาถึงหน้าล็อกออน จะเร็วกว่า Windows 7 เพราะทางไมโครซอฟต์ได้ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้ได้ใช้ (เข้าระบบ) ได้รวดเร็ว แต่ถ้าจะให้เร็วไปกว่านั้นเอาแบบล็อกออนอัตโนมัติ ผ่านหน้าล็อกออนเข้าหน้าเดสก์ทอป พร้อมใช้งานโดยไม่ต้องมากรอกพาสเวิร์ดให้เสียเวลา (เหมาะสำหรับเครื่องที่มีผู้ใช้คนเดียว) ก็เป็นการดี
วิธีการก็ไม่ได้ยุ่งยาก ซึ่งวิธีการทำก็จะเหมือนกับทำใน Windows 7 แต่ที่เอามาบอกก็สำหรับคนที่ไม่ใช้วิธีนี้จะได้เรียนรู้การปรับแต่ง Windows 7 ได้ตามใจชอบ
1.ให้กดคีย์ Windows Logo + R เพื่อเปิดหน้าต่าง Run พิมพ์ netplwiz ลงในช่องว่าง Open แล้ว Enter
?
2.คลิกเลือก User ที่รายการ User Name จะทำการล็อกออนอัตโนมัติ
3.คลิกเอาเครื่องถูกออกที่ Users must enter a user name and password to use this computerคลิก OK
?
4.ระบบจะแสดงหน้าต่างถามพาสเวิร์ดให้ใส่พาสเวิร์ดที่เดิมที่เคยใช้ 2 ครั้ง คลิก OK
?
หมายเหตุ : กรณีที่ต้องการยกเลิกการล็อกออนอัตโนมัติ ก็ให้คลิกใส่เครื่องหมายถูกที่ Users must enter a user name and password to use this computer คลิก OK

อ้างอิง notebookspec.com

Wi-Fi Hotspot ทำโน้ตบุ๊กให้เป็น Repeater กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้อุปกรณ์อื่นได้ง่ายๆ

Wi-Fi Hotspot ทำโน้ตบุ๊กให้เป็น Repeater กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้อุปกรณ์อื่นได้ง่ายๆ

บางครั้งตอนเราเล่นอินเตอร์เน็ตแล้วคอมพิวเตอร์ของเราสามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ แต่บางครั้งอุปกรณ์สื่อสารของเราเช่นแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนกลับหาสัญญาณไม่เจอจนต้องเปลี่ยนไปใช้ 3G ให้เปลืองค่าอินเตอร์เน็ตแทนเสียอย่างนั้น ซึ่งการทำเช่นนั้นก็จะสิ้นเปลืองค่าอินเตอร์เน็ตเกินไป ทางทีมงานจึงมีโปรแกรม Wi-Fi Hotspot สำหรับกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตมาฝากกัน

19-07-2013 16-31-19

หน้าตาของโปรแกรมทั้งเรียบง่ายใช้งานง่ายเพราะเป็นภาษาไทยและคำสั่งก็เรียบง่ายมากอีกด้วย จะสร้างจะดูสถานะการทำงานของ Wi-Fi Hotspot ก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่งภาษาไทยอีกด้วย

19-07-2013 16-31-36

ก่อนจะเริ่มใช้งาน Wi-Fi Hotspot นั้นเราต้องเริ่มตั้งค่า Wi-Fi Hotspot ให้เรียบร้อยก่อน โดยตั้งชื่อและรหัสผ่านก่อนจะกด “สร้าง” แล้วหน้าต่างโปรแกรมจะปิดไป แล้วเราก็สามารถใช้คำสั่งเปิดปิด Wi-Fi ได้ทันที

19-07-2013 16-31-47

ส่วนของคำสั่ง “สถานะ Wi-Fi Hotspot” จะเป็นการเช็คว่าตัวเครื่องมีไดร์เวอร์ Wi-Fi แบบไหนอย่างไร ซึ่งโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดทั้งหมดเอาไว้โดยละเอียดทีเดียว เมื่อเราอ่านเสร็จแล้วก็สามารกด Close เพื่อปิดหน้าต่างนี้
เป็นโปรแกรมเล็กๆ ง่ายๆ สำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนโน้ตบุ๊กให้เป็น Wi-Fi Hotspot ให้อุปกรณ์อื่นสามารถใช้งานได้ด้วย แต่น่าเสียดายที่โปรแกรมนี้เขียนขึ้นมาให้ใช้งานได้ถึง Windows 7 เท่านั้น ส่วนใครที่ใช้งาน Windows 8 ก็เป็นอันอดใช้งานไป

Download : Wi-Fi Hotspot ; File Size = 833 KB

อ้างอิง notebookspec.com

สำรองไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ SSD ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Comodo Backup

สำรองไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ SSD ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Comodo Backup

การแบ็กอัพไฟล์หรือการสำรองไฟล์ เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าให้ความปลอดภัยในการใช้งานข้อมูลมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ในเครื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสีย ยิ่งการเก็บไว้ในไดรฟ์ที่ติดตั้งระบบด้วยแล้ว ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญด้วยการที่ปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์แบบใหม่อย่าง SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ในลักษณะของNAND Flash ที่ทราบกันดีว่า หากเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อใด โอกาสจะแก้ไขหรืแอกู้ข้อมูลกลับมาได้นั้นยากเย็นทีเดียว หากมีการเตรียมตัวที่ดีแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ดีทีเดียว
ส่วนวิธีการนั้นก็ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีเดิมๆ ง่ายๆ ก็คือ การ Copy ด้วยตัวเอง ด้วยการสั่ง Copy file ลงในอุปกรณ์ที่ต้องการจัดเก็บ อย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอกหรือจะใส่ไว้ในแผ่นดีวีดีก็ได้ แต่วิธีการนี้ดูจะช้าและไม่แน่นอน เพราะจะใช้เวลาค่อนข้างนาน พอเริ่มขี้เกียจก็ไม่อยากทำ ซึ่งก็ดูจะไม่เกิดเป็นผลที่ชัดเจนนั่นเอง ดังนั้นอีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการ อย่างเช่น โปรแกรม Comodo Backup ที่ใช้งานง่ายและมีแบบฟรีเวอร์ชันให้ใช้งานอีกด้วย
 
1
เริ่มแรกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม Comodo Backup มาติดตั้งไว้ในเครื่องเสียก่อน โดยจะมีฟังก์ชันในการแบ็คอัพปกติและการแบ็คอัพร่วมกับระบบ Cloud storage แต่ต้องมีการสร้าง Account สำหรับการอัพโหลดและจัดเก็บ
 
 
 
2
เมื่อเข้าสู่หน้าโปรแกรม ควรเข้าไปตั้งค่าสิ่งต่างๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน ด้วยการคลิกที่ Setting ที่แถบเมนูด้านบนขวา จากนั้นตั้งค่าในส่วนของ Backup Location ด้วยการคลิกที่ Browse… แล้วเลือกไดรฟ์และโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บ ถ้าในกรณีที่ต้องการเก็บลงในฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอก ก็ให้ต่อฮาร์ดดิสก์เสียก่อน
 
 
 
3
เลือกฮาร์อดิสก์หรือพื้นที่ในการจัดเก็บ Backup file เพื่อกำหนดให้ระบบเข้าสู่การจัดเก็บเป็นค่าปกติทุกครั้ง
 
 
 
4
จากนั้นคลิกไปที่แถบ Backup ด้านขวามือของหน้าต่าง ให้เข้าไปกำหนดรูปแบบการแบ็กอัพหรือ Backup Type ในหัวข้อนี้ สามารถเลือกได้ว่าต้องการแบ็กอัพแบบใด มีให้เลือก 3 แบบคือ
-Full แบ็กอัพข้อมูลทั้งหมดตามที่กำหนดไว้
-Differential แบ็กอัพเฉพาะไฟล์ที่ไม่ได้มีแบ็กอัพไว้ในที่จัดเก็บ
-Incremental แบ็กอัพเฉพาะไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเดต จากแบ็กอัพเดิมที่เก็บเอาไว้
 
 
 
5
เสร็จแล้วลงมาที่ช่องด้านล่างในหัวข้อ Backup Format ซึ่งเป็นการเลือกรูปแบบในการจัดเก็บ ในที่นี้เลือกได้ตามใจชอบ ว่าต้องการทำเป็น CBU, Zip, ISO หรือเป็นแบบธรรมดาก็ได้เช่นกัน
 
 
 
6
เลือกไดรฟ์ของไฟล์ต้นทางที่ต้องการจัดเก็บ โดยเลือกครั้งละหลายไดรฟ์หรือจะทีละไดรฟ์ก็ได้เช่นกัน จากนั้นคลิก Next
 
 
 
7
เสร็จแล้วก็จะมาถึงขั้นตอนสุดท้าย ที่โปรแกรมจะจัดการให้ โดยจะกำหนดชื่อไฟล์ของตัว Backup ให้หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อและสถานที่จัดเก็บก็เปลี่ยนจากตรงนี้ได้ทันที
 
 
 
8
นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการตั้งเวลาหรือ Schedule ในการจัดเก็บให้ระบบทำเป็นประจำอัตโนมัติ ก็สามารถเข้ามาตั้งได้ที่หัวข้อ Backup ด้านซ้ายมือ โดยเรามีหน้าที่ในการกำหนดช่วง วัน เวลาและความถี่ได้เอง เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ Save Schedule ได้ทันที
 
 
เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่สามารถสร้างความปลอดภัยให้กับระบบข้อมูลของคุณ โดยเฉพาะคนที่ใช้ SSD ที่ไม่แน่ใจในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล Comodo Backup น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุณสำรองข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากทีเดียว

อ้างอิง notebookspec.com

[Tip] ปรับแต่งให้ใช้ง่ายๆ กับ Power User Menu บน Windows 8

ปรับแต่งให้ใช้ง่ายๆ กับ Power User Menu บน Windows 8

การปรับแต่งหน้าตาและฟังก์ชันการใช้งาน ถือเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนนิยมทำกัน ไม่ว่าจะเป็นบนวินโดวส์ใหม่หรือเก่า ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าอยากได้ฟังก์ชันที่ซ่อนอยู่ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น บางส่วนก็นิยมการเปลี่ยนหน้าตารูปโฉมที่สวยงาม แต่บางส่วนต้องการปรับแต่งเพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบรรดาเมนูลัดต่างๆ บนวินโดวส์ 8 เอง ก็มีฟังก์ชันในหลายส่วนที่บางครั้งจัดเก็บเอาไว้เสียมิดชิดจนทำให้เรียกใช้งานไม่สะดวกนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดปุ่ม Start ออกไป แล้วนำเอา Power User Menu มาใช้แทน ซึ่งจะว่าไปก็สะดวกเหมือนกัน แต่ก็ยังคงไม่สะดวกเท่า เพราะด้วยรูปแบบที่คุ้นเคย รวมถึงการจัดการสิ่งต่างๆ ผ่านทางเมนู Start ได้ง่ายกว่า จึงทำให้ผู้ใช้ยังคงติดใจกับการใช้งานในรูปแบบดังกล่าวอยู่ดี อย่างไรก็ดียังถือว่าเป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้การเข้าถึงเมนูการทำงานต่างๆ ของระบบทำได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญเวลาเรียกใช้ก็ง่าย
อย่างไรก็ดีมาทำความรู้จักและการเรียกใช้ Power User Menu นี้กันก่อน สำหรับฟังก์ชันดังกล่าวนี้ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจในการทำงานอีกอย่างหนึ่งของวินโดวส์ โดยจะเป็นการรวมเอาการทำงานสำคัญๆ ต่างๆ เอาไว้มากมาย ให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ System, Device manager, Power option, Control panel รวมไปถึง Search, Run, File Explorer เรียกได้ว่าแทบจะครบครันอยู่ในเมนูเดียว เหมือนกับเป็น Menu Start อยู่กลายๆ ถ้าติด Pin to… ได้อีกหน่อยละก็ ใช่เลยทีเดียว ส่วนการเรียกใช้นั้น ทำได้ 2 แบบคือ ใช้เมาส์คลิกไปที่มุมซ้ายล่างสุดของจอภาพหรือจะใช้กดคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม Windows + X นั่นเอง ส่วนจะใช้งานตัวใดบ้าง ก็ต้องลองไปดูกัน วิธีคือ
แต่เนื่องจากเมนูดังกล่าวถูกใส่ฟังก์ชันมาจนแน่นทีเดียว บางทีอาจจะตาลายในการเรียกใช้งานได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้กับจอเล็กๆ หรือเป็นแบบหน้าจอสัมผัสบางทีอาจจะเรียกใช้งานได้ยากขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่ามีวิธีที่ช่วยปรับการใช้งานได้สะดวกขึ้น ด้วยการลบเมนูบางส่วนออกไปได้ รวมถึงจัดการกับฟังก์ชันย่อยที่อยู่ภายในเมนูดังกล่าวนี้ได้อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ได้ยากเย็นแต่อย่างใด แค่เพียงเข้าไปที่เมนูตามหัวข้อนี้ C:UsersusernameAppDataLocalMicrosoftWindowsWinX 
จากนั้นเมื่อเข้าสู่หน้าจอต่างของ WinX เพื่อทำการ Edit Menu แล้ว ก็ให้เข้าไปดูในหัวข้อแต่ละส่วนได้ทันที โดยในแต่ละหัวข้อก็จะมีการแยกย่อยเป็นข้อเล็กๆ คือ Group1, Group2 และ Group3 ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้เองว่าจะลบตัวใด
การลบหัวข้อใดออก ก็ให้เลือกที่หน้าหัวข้อนั้นๆ แล้ว Delete ได้ทันที ไม่มีขั้นตอนอะไรมาก เพียงแต่ดูให้แน่ใจก่อนว่าต้องการจะลบในส่วนใดออก ส่วนถ้าต้องการจะนำที่ลบไปแล้วกลับมา ก็ใช้วิธีเรียกจากฟังก์ชัน Search แล้วพิมพ์เมนูที่ต้องการจะเรียกคืนกลับมานั่นเอง
สิ่งนี้เป็นวิธีง่ายๆ ในการจัดการกับระบบ Power User Menu ที่รวดเร็วและทำเองได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อระบบ

อ้าง notebookspec.com

ช่วยกดไลค์ติดตามข่าวสารด้วยนะครับ ^^